ความหมายของจิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phyche แปลว่า วิญญาณ กับ Logos แปลว่า การศึกษา ตามรูปศัพท์ จิตวิทยาจึงแปลว่า วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณแต่ในปัจจุบันนี้ จิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของจิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นคือ จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
จิตวิทยาประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
1 ลักษณะเนื้อหาวิชา แบ่งเป็นเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ พัฒนาการของมนุษย์, พันธุกรรม, ระบบการตอบสนอง, การรับรู้, การรู้สึก, แรงจูงใจ, อารมณ์, ภาษา การคิด และการแก้ปัญหา, เชาวน์ปัญญาและการทดสอบเชาวน์ปัญญา, บุคลิกภาพแบบต่าง ๆ และการประเมินบุคลิกภาพ, รูปแบบต่างๆของพยาธิสภาพทางพฤติกรรม, จิตบำบัด, และจิตวิทยาชุมชน
2 เป้าหมายของจิตวิทยา เป้าหมายของการศึกษาได้มาจากวิธีการที่แตกต่างกัน 3 ประเภท ได้แก่
3 การวิจัยบริสุทธิ์หรือการวิจัยพื้นฐาน มาจากการค้นคว้าด้วยใจรัก ค้นหาหลักการของพฤติกรรมทั้งของมนุษย์และสัตว์ โดย ไม่ได้คำนึงว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสังคมได้หรือไม่ ผู้วิจัยต้องเป็นผู้มีระเบียบแบบแผน มีจรรยาบรรณของนักวิจัย มีจริยธรรมและความเป็นกลางทางสังคม
ความสัมพันธ์ของจิตวิทยากับศาสตร์อื่น
จิตวิทยามีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับวิชาจิตเวชศาสตร์ (อันเป็นส่วนหนึ่งของวิชาแพทยศาสตร์ คือสาขาที่ว่าด้วยการรักษาจิตใจ) และกับศาสตร์ทางชีววิทยา ซึ่งได้แก่ สรีรวิทยา ประสาทวิทยาและชีวเคมี พฤติกรรม ของบุคคลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาจากบุคคลนั้นโดยตรงก่อน ทั้งทางด้านพันธุกรรม ระดับวุฒิภาวะ และสภาพการ
จิตวิเคราะห์
จิตแพทย์ชาวออสเตรียเชื้อสาย ยิว คือ น.พ. ซิกมันด์ ฟรอยด์ ได้พัฒนาวิธีการบำบัดทางจิตเรียกว่าจิตวิเคราะห์ การศึกษา ของฟรอยด์เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต และแปลความหมายพฤติกรรมของคนไข้ของเขา การศึกษาของเขาส่วนมากเป็นการทำความเข้าใจจิตไร้สำนึก การเจ็บป่วยทางจิต และจิตพยาธิวิทยา ทฤษฎีของฟรอยด์เป็นทฤษฎีทางจิตวิทยาที่นำมาใช้อธิบายพัฒนาการทางพฤติกรรมของมนุษย์
ประวัติความเป็นมาของจิตวิทยา
จิตวิทยาได้เริ่มขึ้นโดยนักปราชญ์ชาวกรีก ชื่อ เพลโต และอริสโตเติล เพลโตเชื่อว่าการคิดและการใช้เหตุผลเท่านั้น ที่ทำให้คนเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เขาสามารถจะเข้าใจได้ โดยไม่สนใจวิธีการสังเกตหรือการทดลองใด ๆ แต่อริสโตเติลกลับเป็นนักสังเกตสิ่งรอบตัว เขาสนใจสิ่งภายนอกที่มองเห็นได้ การเข้าใจปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับคนต้องเริ่มด้วยการสังเกตอย่างมีระบบ
ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ศาสนาเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยแนวคิดทางศาสนาเน้นว่าจิตเป็นส่วนที่แยกออกจากร่างกาย
ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 การฟื้นฟูการสืบสวนโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการละทิ้งความเชื่อแบบเดิม ๆ มีการค้นหาความรู้ใหม่ ๆ วิธีการก็เริ่มมีลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอน กล่าวว่า “ทฤษฎีให้แนวทาง การวิจัยให้คำตอบ” โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญระหว่างทฤษฎีและการวิจัย
กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีกลุ่มแนวคิดที่สำคัญเกิดขึ้น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประจักษ์นิยมชาวบริเตน (British Empiricism) ที่เชื่อว่า ความรู้ผ่านเข้ามาทางสื่อกลางของความรู้สึก จิตเป็นที่รวมของความคิดเห็น นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดจิตวิทยากลุ่มสัมพันธนิยม (Associationistic Psychology) นักจิตวิทยาอีกกลุ่มหนึ่งกลับสนใจทางชีวภาพ เช่น ความแตกต่างระหว่างประสาทส่วนรับความรู้สึกกับประสาทส่วนการเคลื่อนไหว และ ลักษณะทางกายที่แสดงปฏิกิริยาสะท้อน (reflex) นักจิตวิทยากลุ่มนี้พยายามอธิบายการกระทำของมนุษย์ด้วยหลักการทางฟิสิกส์ คือ จิตฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพของสิ่งเร้ากับประสบการณ์รู้สึกที่ผู้ที่ถูกเร้ารายงานออกมา
วิทยากร เชียงกูล (2552) ได้แบ่งสาขาของจิตวิทยาและบอกขอบเขตของการศึกษาของแต่ละสาขาไว้อย่างละเอียดดังนี้
1. จิตวิทยาอปกติ (abormal psychology) จิตวิทยาที่เน้นศึกษาเรื่องสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องความผิดปกติของพฤติกรรม เช่น ความคิด แรงจูงใจที่ไม่เป็นไปตามปกติอาจจะเกิดจากสภาพแวดล้อม กระบวนการคิด
2. จิตวิทยาประยุกต์ (applied psychology) การนำความรู้จากวิชาจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ซึ่งรวมทั้งจิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาแนะแนว
3. จิตชีววิทยา (bio-psychology) สาขาจิตวิทยาที่ศึกษาถึงผลกระทบของชีววิทยาต่อพฤติกรรมของปัจเจกบุคคล
4. จิตวิทยาเด็ก (child psychology) สาขาหนึ่งของจิตวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม การปรับตัวเข้ากับสังคมของเด็กรวมทั้งสติปัญญา บุคลิกภาพและจริยธรรม
5. . จิตวิทยาคลินิก (clinical psychology) สาขาหนึ่งของจิตวิทยา ศึกษาเกี่ยวกับการจำแนกแยกแยะ การวิเคราะห์ธรรมชาติ การรักษาและการป้องกันการใช้ความสามารถ และเรื่องความผิดปกติทางจิต
6. จิตวิทยาการชี้แนะ (coaching psychology) จิตวิทยาสาขาใหม่ที่เน้นการให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อเพิ่มภาวะอยู่ดีมีสุข
7. . จิตวิทยาการรู้คิด (cognitive psychology) จิตวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้ เก็บและการนำมาใช้ข้อมูลข่าวสารของคนเรา
8. . จิตวิทยาชุมชน (community psychology) ศึกษาลักษณะทางจิตใจและพฤติกรรมบุคคลในชุมชน สำรวจและทดลองใช้วิธีการต่าง ๆ
9. จิตวิทยาเปรียบเทียบ (comparative psychology) จิตวิทยาสาขาหนึ่งที่ศึกษาในเชิงเปรียบเทียบระหว่างจิตวิทยาของสัตว์ชนิดต่างๆ
10. . จิตวิทยาให้คำปรึกษา (counseling psychology) การให้คำแนะนำช่วยเหลือนักเรียนหรือผู้ที่มีปัญหาทางจิตใจและความสัมพันธ์กับคนอื่นได้เข้าใจปัญหาของเขาอย่างชัดเจน
11. จิตวิทยาอาชญากร
12. สำนักจิตวิทยาวิพากษ์
13. . จิตวิทยาสังคมแนววิพากษ์ (critical social psychology) จิตวิทยาสังคมแนวที่มองว่าความเป็นจริงและความเข้าใจเรื่องโลกเกิดขึ้นโดยการตีความหมายและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
14. จิตวิทยากลุ่มชน (crowd psychology) การศึกษาลักษณะพฤติกรรมและจิตใจของกลุ่มชน
15. จิตวิทยาเชิงลึก (depth psychology) จิตวิทยาที่ว่าด้วยบทบาทของจิตไร้สำนึกที่มีต่อพฤติกรรมของมนุษย์.
16. จิตวิทยาพัฒนาการ (developmental psychology) การศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางความคิดจิตใจ พฤติกรรมตามช่วงวัยต่าง ๆ
17. จิตวิทยาความแตกต่าง (differential psychology) วิชาจิตวิทยาสาขาหนึ่งศึกษาเกี่ยวกับความแตกต่างทางพฤติกรรมของปัจเจกชน กลุ่ม หรือเผ่าพันธุ์
18. จิตวิทยาพลวัต (dynamic psychology) จิตวิทยาที่ศึกษาการกระตุ้นจากภายในและแรงขับ และสาเหตุของพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์โดยเฉพาะเรื่องแรงขับ
19. . จิตวิทยาการศึกษา (education psychology) แขนงหนึ่งของวิชาจิตวิทยาประยุกต์ การนำเอาวิชาจิตวิทยาไปใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษาและการศึกษาปัญหาทางด้านการศึกษาในแง่ของจิตวิทยาเน้นเรื่องกระบวนการเรียนรู้
20. . จิตวิทยาวิศวกรรมศาสตร์ (engineering psychology) การศึกษาเรื่องการออกแบบอุปกรณ์ เครื่องมือ สภาพแวดล้อม
21. . จิตวิทยาสภาพแวดล้อม (environmental psychology) จิตวิทยาสาขาหนึ่งที่เน้นผลของอิทธิพลภายนอกที่มีต่อพฤติกรรมมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม
22. จิตวิทยาการดำรงอยู่ (existential psychology) จิตวิทยาแนวหนึ่งที่ถือว่าวิชาจิตวิทยา คือ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้สำนึกและสาระของจิต
23. จิตวิทยาการทดลอง (experimental psychology) จิตวิทยาที่ศึกษากระบวนการทางด้านความคิดจิตใจโดยใช้วิธีการทดลอง
24. จิตวิทยาสมรรถพล (faculty psychology) จิตวิทยาที่ศึกษาเรื่องปรากฏการณ์พลังทางสมอง และพลังจิตใจที่เกี่ยวโยงกับความสามารถอย่างใดอย่างหนึ่ง
25. จิตวิทยาสตรี (feminist psychology) จิตวิทยาที่สนใจการให้คุณค่าและตรวจสอบประสบการณ์ชีวิตของผู้หญิงที่มีลักษณะถูกกีดกัน ถูกเอาเปรียบ
26. . จิตวิทยาชาวบ้าน (folk psychology) การศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อขนบธรรมเนียม ประเพณีและจารีตประเพณีของชนในเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ
27. . จิตวิทยานิติเวช (forensic psychology) สาขาหนึ่งของจิตวิทยาประยุกต์ ใช้หลักการทางจิตวิทยามาประยุกต์ใช้ในเรื่องเกี่ยวกับอาชญากรรมโดยเฉพาะทางด้านการช่วยหาข้อมูล
28. จิตวิทยาทั่วไป (general psychology) สาขาหนึ่งของจิตวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ ทฤษฎี และหลักการทั่วไปทางจิตวิทยา
29. จิตวิทยาทางพันธุกรรม (genetic psychology) จิตวิทยาที่ว่าด้วยการศึกษาปรากฏการณ์ทางจิต และพฤติกรรมโดยวิธีการศึกษาถึงการเกิด
30. จิตวิทยาเกสตัลท์ (Gestalt psychology) แนวคิดทฤษฎีจิตวิทยาของกลุ่มนักจิตวิทยาชาวเยอรมันในต้นศตวรรษที่ 20 เสนอว่า เราต้องพิจารณาว่าปรากฏการณ์ทางจิตมาจากประสบการณ์ในรูปบขององค์รวมทั้งหมด
31. . จิตวิทยากลุ่มชน (group psychology) จิตวิทยาสังคมที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการก่อตัว และการผนึกกำลังของกลุ่มชน การแข่งขันและความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม อิทธิพลของกลุ่มต่อปัจเจกชนและในทางกลับกัน
32. จิตวิทยาสุขภาพ (health psychology) สาขาหนึ่งของจิตวิทยาที่ใช้หลักการของวิชาจิตวิทยา โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
33. . จิตวิทยามนุษยนิยม (humanistic psychology) สำนักจิตวิทยาที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับประสบการณ์ที่มีจิตสำนึกของมนุษย์ เช่น อารมณ์
34. จิตวิทยารายบุคคล (individual psychology) จิตวิทยาที่ศึกษาเรื่องว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่จูงใจคน คนแต่ละคนแตกต่างจากคนอื่นด้านบุคลิกนิสัย ความฉลาด การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ อย่างไร
35. . จิตวิทยาอุตสาหกรรม จิตวิทยาองค์กร จิตวิทยาการอาชีพ (industrial psychology, organization psychology, occupational psychology) การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องความถนัด ความเหมาะสมของคนในการเลือกงาน พฤติกรรมมนุษย์ในการทำงาน
36. จิตวิทยาทารก (infant psychology) จิตวิทายช่วงแรกของเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 5 ขวบ
37. . จิตวิยาการพินิจภายในจิตใจ (introspective psychology) แนวทางจิตวิทยาที่ยึดการสังเกตภายในจิตใจตนเองเป็นหลัก
38. จิตวิทยาการจัดการ (managerial psychology) การศึกษาอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับบทบาทของผู้จัดการในองค์กร
39. . จิตวิทยามวลชน (mass psychology) สาขาหนึ่งของจิตวิทยา ศึกษาเรื่องความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรมและปฏิกิริยาของกลุ่มคนจำนวนมากที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางสังคม
40. จิตวิทยาเวชศาสตร์ (medical psychology) สาขาจิตวิทยาที่ศึกษาปัญหาทางจิตของผู้ป่วยโดยใช้ความรู้ทางการแพทย์ เช่น ภาวะทางจิตใจของผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยต่อเนื่อง ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ป่วยซึมเศร้าที่เกิดจากการตายจากของผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยที่เบื่อหน่าย ไม่มีความหวังหรือไม่มีศรัทธาในการรักษาของแพทย์